วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

นวัตกรรมการศึกษา

บทคัดย่องานวิจัย
ชื่องานวิจัย : การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้แบบฝึก เสริมทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 1 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้เขียน : นางวรรณระพี พิทยานันท์ ตำแหน่ง ครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านหนองม่วง อำเภอสตึก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ปีที่พิมพ์ : 2550 บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมาย
1. เพื่อสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด
2. เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้เกณฑ์มาตรฐาน 80/80
3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและ หลังเรียน โดยการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด กลุ่มตัวอย่าง(Sample) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนบ้านหนองม่วง ตำบลนิคม อำเภอ สตึก จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 34 คน
ระยะเวลาในการวิจัยภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550
โดยใช้เวลาในแผนการสอนปกติในระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เดือนกุมภาพันธ์ 2550
เนื้อหาที่ใช้ ในการวิจัยคือ การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด

เครื่องมือใน การวิจัย คือ
1) แบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด จำนวน 4 ชุด คือ ชุดที่ 1 มาตราตัวสะกดแม่ กก ชุดที่ 2 มาตราตัวสะกด แม่ กด ชุดที่ 3 มาตราตัวสะกด แม่ กน ชุดที่ 4 มาตราตัวสะกด แม่กบ
2) แบบทดสอบมี 2 แบบ คือ
1. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แต่ละเล่มเป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ชุดละ 10 ข้อ
2. แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 เรื่องการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด จำนวน 20 ข้อ

ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกเสริมทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาที่ 3 เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด มีประสิทธิภาพกระบวนการ ( E1) เท่ากับ 83.09 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80 และมีประสิทธิภาพผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 87.21 2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด พบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01




บรรณานุกรม
วรรณระพี พิทยานันท์ . 2550. ครูบ้านนอก . กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์ .

ประโยชน์ที่ได้รับจากบทคัดย่อ
1. ได้ศึกษาการแก้ปัญหาการอ่านและการเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด
2. ได้ฝึกทำและลองใช้ แบบฝึกเสริมทักษะ เกี่ยวกับการอ่านและการเขียนกับเด็กที่สอนอยู่
3. ได้ทราบผลสัมฤทธิ์ของเด็กว่ามีประสิทธิภาพในการอ่านการเขียนอยู่ในระดับไหน
4. ได้นำไปเป็นแนวทางในการสอนเด็กนักเรียนและแก้ปัญหาเด็กนักเรียนที่สอนอยู่ปัจจุบัน
5. ทำให้จัดระบบการเรียนการสอนได้ดีขึ้นตามขั้นตอนโดยให้เด็กทำแบบฝึกหัดก่อนเรียนโดยใช้บททดสอบก่อนเรียนและประเมินผลเด็กหลังจากเรียนแล้วโดยใช้แบบทดสอบหลังเรียน
6. ได้ศึกษาบทคัดย่อในรูปแบบต่างๆจากบทคัดย่อ จากคอมพิวเตอร์และนำมาเป็นแนวทางในการสอนให้แก่เด็ก ทั้งเป็นประโยชน์ในด้านการแก้ปัญหา กับเด็กที่มีปัญหาในด้านต่างๆ
7. รู้จักรการเขียนบรรณานุกรม ที่ถูกต้องตามรูปแบบของการจัดทำหนังสือ

1 ความคิดเห็น:

  1. ได้ข้อมูลนำมาปรับปรุงงานเพื่่มเติม ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ