วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สรุปเนื้อหาบทที่ 3-6
บทที่ 3
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนอง
ความต้องการภาครัฐและเอกชน
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน การดำเนินงานต่างๆ ในองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนมีการแข่งขันกันสูงและเผชิญกับอุปสรรคมากมาย การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นสร้างผลกระทบที่สำคัญต่อการดำรงอยู่และการเจริญเติบโตขององค์กร องค์กรต้องสามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์จากความไม่แน่นอนของสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ มีดังนี้
1. ด้านการวางแผน เป็นการกำหนดแนวทางการดำเนินงานขององค์กร
2. ด้านการตัดสินใจ เป็นการนำสารสนเทศไปใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา
3. ด้านการดำเนินงาน เป็นการนำสารสนเทศไปใช้ในการดำเนินงาน ช่วยผู้บริหารในการควบคุมและติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน วัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร
ในการบริหารงานของผู้บริหารนอกจากจะมีความรู้ความสามารถในการทำงานหรือการบริหารงานแล้ว สิ่งสำคัญประการหนึ่งของผู้บริหารก็คือ การตัดสินใจ (Decision Making) การตัดสินใจเปรียบเสมือนหัวใจสำคัญของการบริหารงาน
การตัดสินใจ (Decision Making) คือ การเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย(goals) การตัดสินใจที่ดีและรวดเร็วจะส่งผลดีต่อการบริหารงาน การตัดสินใจจะเกิดขึ้นของระบบงานนั้นๆ ปัจจัยสำคัญที่จะก่อให้เกิดการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพคือ สารสนเทศและการรู้จักนำสารสนเทศมาใช้ในการตัดสินใจ
ส่วนการบริหารงานด้านสารสนเทศ ในทางปฏิบัติผู้บริหารไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านสารสนเทศ แต่ผู้บริหารต้องเข้าใจถึงความสำคัญ และประโยชน์ในการนำสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานขององค์กร
ระดับการบริหารงานในองค์กร
การบริหารงานในองค์กร แบ่งงานการบริหารงานออกเป็น 3 ระดับ
1. ผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ ประธานกรรมการ ผู้จัดการ กรรมการบริหาร
2. ผู้บริหารระดับกลาง ได้แก่ ผู้จัดการฝ่ายต่างๆ ที่มีหน้าที่รับนโยบายและแผนระยะยาวที่ผู้บริหารระดับสูงได้วางไว้นำมาดำเนินการและวางแผนระยะสั้นเพื่อทำให้เป็นเป้าหมายเกิดความชัดเจนขึ้น
3. ผู้บริหารระดับต้นหรือระดับปฏิบัติการ ได้แก่ หัวหน้างาน หัวหน้าฝ่าย หัวหน้าแผนก มีหน้าที่ ปฏิบัติตามแผนและนโยบาย ควบคุมดูแลและแก้ปัญหาการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่เป็นรูปธรรม
ระดับของการตัดสินใจ
1. การตัดสินใจระดับสูง
การตัดสินใจระดับสูง เป็นการตัดสินใจแบบไม่มีการวางแผนล่วงหน้าเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับอนาคตซึ่งไม่แน่นอน เกี่ยวข้องกับปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง เกี่ยวข้องกับการกำหนดเป้าหมายขององค์กรและการวางแผนระยะยาว
2. การตัดสินใจระดับกลาง
การตัดสินใจระดับกลาง เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลางเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของผู้บริหารระดับสูงจะเกี่ยวข้องกับปัญหาแบบกึ่งโครงสร้าง
3. การตัดสินใจระดับปฏิบัติการ
การตัดสินใจระดับปฏิบัติการเป็นการตัดสินใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานและกิจกรรมต่างๆ จะเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในแต่ละวัน
ระบบสารสนเทศสำหรับองค์กร
ระบบสารสนเทศสำหรับองค์กรเป็นระบบสารสนเทศรวมซึ่งประกอบด้วยระบบสารสนเทศย่อยๆที่สัมพันธ์กันดังนี้
1. ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems:TPS)
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems:MIS)
3. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information Systems:OIS)
4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems:DSS)
5. ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง (Executive Support Systems:ESS)
TPS เป็นขั้นตอนเบื้องต้นในการทำหน้าที่ผลิตสารสนเทศแล้วส่งไปยังระดับต่อไป TPS จึงเป็นระบบสารสนเทศพื้นฐานขององค์กรที่สนับสนุนการทำงานในระดับปฏิบัติการซึ่งเป็นการทำงานประจำวัน ตัวอย่างข้อมูลที่เข้ามาใน TPS ได้แก่ ข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า ข้อมูลการขายสินค้า ระบบการจองโรงแรมห้องพัก ระบบการจองตั๋วเครื่องบิน ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลพนักงานหรือลูกจ้าง โดยจะนำข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้เข้ามาเพื่อทำการประมวลผลโดยถือว่าสารสนเทศระดับ TPS เป็นระดับล่างสุด ซึ่งในระดับนี้จำเป็นต้องมีการจัดการทำงานให้เป็นแบบแผนที่แน่นอนตายตัว
MIS ที่มีผู้ให้ความหมายไว้หลายความหมายแต่ยังไม่มีการทำความตกลงกันในเรื่องเกี่ยวกับคำจำกัดความที่แน่นอนแล้วแต่ผู้ใช้จะเลือกใช้ความหมายใดตามประสบการณ์ของ ตน ฮิคส์ จูเนียร์ (Hicks,Jr., 1993) กล่าวว่าแต่เดิมระบบสารสนเทศทางด้านธุรกิจมักจะเรียกว่า MIS ความหมายของ MIS แต่เดิมนั้นเป็นการรวมการประมวลผลรายการ (transaction processing) การสนับสนุนการตัดสินใจ (decision support) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (expert systems) และอื่นๆ รวมกันเป็น MIS แต่แนวโน้มในปัจจุบันความหมายของ MIS หมายถึง ระบบที่มีการจัดเตรียมสารสนเทศซ้ำ ๆ เกี่ยวกับงานประจำและใช้ในการคาดคะเนเหตุการณ์ทางธุรกิจ
ระบบสารสนเทศสำนักงาน (OIS) เป็นระบบการจัดสารสนเทศในสำนักงานโดยเกี่ยวข้องกับการการบันทึกข้อมูล การผลิตเอกสารภายในสำนักงานโดยนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อลดข้อผิดพลาดและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของสำนักงาน โดยที่ระบบสารสนเทศสำนักงานมีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานและการติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงานภายในหน่วยงานเดียวกัน อุปกรณ์ต่างๆ ที่นำมาใช้ ได้แก่ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกข้อมูล การผลิตเอกสารภายในสำนักงาน การจัดเตรียมสารสนเทศเอาไว้ใช้ในการดำเนินงาน
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS) คือ ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารทุกระดับสูง เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนามาจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการโดยเพิ่มตัวแบบ (model) ไว้ในระบบโดยใช้ตัวแบบ (Mode) ในการแก้ปัญหา ผู้บริหารสามารถป้อนข้อมูลที่เป็นตัวแปรต่างๆ ของเหตุการณ์นั้นเข้าสู่ระบบจากนั้นระบบจะทำการประมวลผลแล้วรายงานผลออกมาเป็นทางเลือก ช่วยผู้บริหารในการทดสอบทางเลือกเพื่อตัดสินใจ ทำให้ผู้บริหารทราบว่าการเลือกทางเลือกนั้นจะเกิดอะไรขึ้น DSS เป็นระบบสารสนเทศแบบโต้ตอบได้ซึ่งได้พัฒนาขึ้นตามความต้องการของผู้บริหารในการตัดสินใจเฉพาะเรื่อง
ESS เป็นระบบที่เตรียมข้อมูลข่าวสารที่ผ่านการกลั่นกรองและแสดงผลในรูปแบบที่เหมาะสมให้แก่ผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ ให้ผู้บริหารสามารถเข้าสู่แหล่งข้อมูล ค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว รวบรวม วิเคราะห์และประมวลผลสารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์กรตามความต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ช่วยผู้บริหารนำสารสนเทศมาใช้ในการกำหนดนโยบายวางแผนกลยุทธ์ โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีช่วยในการนำเสนอ สามารถเรียกดูได้ง่ายและสะดวกโดยผ่านทางจอภาพ ช่วยผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับการใช้คอมพิวเตอร์ให้สามารถใช้สารสนเทศได้ง่ายขึ้น
บทสรุป
เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเจริญก้าวหน้ามากขึ้น การดำเนินงานขององค์กรก็เปลี่ยนไปทุกองค์กรเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นสำหรับผู้บริหาร คือ ทำอย่างไรจึงจะนำสารสนเทศที่มีอยู่อย่างมากมายมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่ามากที่สุด การดำเนินงานในด้านต่าง ๆ จะต้องประสบกับปัญหาและจะต้องทำการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหา ผู้บริหารแต่ละระดับจะมีหน้าที่รับผิดชอบและตัดสินใจในการแก้ปัญหาแตกต่างหันเพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกันคือ ทำให้องค์กรเจริญก้าวหน้าดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพด้วยความมั่นคงและมีประสิทธิภาพในการแข่งขัน
TPS เป็นขั้นตอนเบื้องตันในการผลิตสารสนเทศซึ่งจัดการเกี่ยวกับรายการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน
MIS เป็นระบบที่ผลิตสารสนเทศที่ใช้สนับสนุนการดำเนินงาน การจัดการและการตัดสินใจ MIS
OIS เกี่ยวข้องกับระบบการจัดเอกสาร ระบบการจัดการข่าวสาร การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรและระหว่างองค์กร ระบบประชุมทางไกลและระบบสนับสนุนสำนักงาน ดังนั้น สำนักงานจึงเป็นศูนย์รวมข้อมูล
DSS คือ ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นสำหรับช่วยให้ผู้บริหารพิจารณาว่าจะตัดสินใจในเรื่องหนึ่ง ๆ อย่างไรดี
ESS เป็นระบบที่ออกแบบสำหรับให้ผู้บริหารระดับสูงใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจ เป็นระบบที่เข้าใจง่ายและสามารถใช้งานได้ง่ายโดยผ่านรูปแบบของการสื่อสารและกราฟิกที่ทันสมัย
บทที่ 4
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลง
ทางด้านสังคม การเมืองและเทคโนโลยีสมัยใหม่
การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ผลของความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้าน ดังนี้
1. เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าอย่างกว้างขวางในทุกสาขาอาชีพสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
2. การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น มีการนำมาประยุกต์ใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
3. วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว อุปกรณ์ต่าง ๆ มีราคาถูกลงแต่มีความสามารถเพิ่มขึ้น ทำให้เทคโนโลยีดังกล่าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันทำให้ผู้ใช้ขยายขอบเขตการดำเนินกิจกรรมไปทั่วทุกหนทุกแห่ง ทุกเวลาและทุกสถานที่
4. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาททางด้านธุรกิจอย่างมาก ทุกธุรกิจมีการลงทุนขยายขอบเขตการให้บริการโดยใช้ระบบสารสนเทศกันมากขึ้น กลไกเหล่านี้ทำให้โอกาสการขยายตัวของเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศกันการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม
เทคโนโลยีเปลี่ยนสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังสคมอุตสาหกรรม สังคมสารสนเทศ และสังคมความรู้ เทคโนโลยีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินกิจกรรมของมนุษย์ในหลาย ๆ ด้าน เช่น การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมความเป็นอยู่ รวมถึงเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำรงชีวิตของมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วได้ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางทางด้านคุณภาพชีวิตของประชาชน
ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสังคมในแง่บวก มีดังนี้
1. ผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในสังคม เทคโนโลยีจะช่วยให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น
2. ช่วยพัฒนาระบบการทำงานให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและประหยัดค่าใช้จ่าย
3. ช่วยทำให้เกิดระบบการทำงานร่วมกันได้ในทุกที่ ทุกเวลา
4. มีการนำเทคโนโลยีมาช่วยส่งเสริมสุขภาพ ความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ช่วยในด้านการแพทย์ให้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
5. ช่วยพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนและการศึกษาด้วยตนเองโดยใช้ ห้องสมุดเสมือนหนังสือิเล็กทรอนิกส์ ระบบการเรียนแบบออนไลน์ ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนการสอนผ่านระบบวีดีโอ คอนเพอร์เรนส์ การศึกษาทางไกล
ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสังคมในแง่ลบ มีดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี มีผลกระทบทางด้านพื้นฐานของโครงสร้างทางสังคมทำให้เกดความขัดแย้งทางแนวความคิดระหว่างแนวความคิดเก่ากับแนวความคิดใหม่
2. มีการก่ออาชญากรรมทางด้านคอมพิวเตอร์มากขึ้น มีการละเมิดลิขสิทธิ์มากขึ้น ผู้คนบนโลกไซเบอร์ขาดคุณธรรมและจริยธรรมมากขึ้น
3. อัตราการจ้างงานลดลง เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีจึงมีการนำเทคโนโลยีมาใช้แทนแรงงานคน
ความสัมพันธ์ระหว่าง ข้อมูล สารสนเทศ ความรู้และปัญญา
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริง อาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร ข้อความ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านการจัดกระทำและยังใช้ประโยชน์ไม่ได้
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวบลผลแล้วด้วยกระบวนการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์
ความรู้ คือ การประยุกต์สารสนเทศโดยผ่านกระบวนการกลั่นกรอง กระบวนการคิดเชื่อมโยงกับความรู้อื่นๆ จนเกิดเป็นความเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานได้
ปัญญา คือ ความรู้ที่อยู่ในตัวคนซึ่งได้จากการตกผลึกองค์ความรู้ต่างๆ ก่อให้เกิดประโยชน์สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาได้
ความรู้แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ
1. Tacit Knowledge คือ ความรู้ที่มีอยู่ในแต่ละบุคคล เป็นความรู้จากสามัญสำนึก จากประสบการณ์ การทำงานหรือการดำเนินชีวิตมาเป็นเวลานาน การเรียนรู้จะค่อยๆสะสมจนกลายเป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะตัวบุคคล เป็นสิ่งที่แต่ละบุคคลเรียนรู้หรือคิดค้นได้เองเป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย
2. Explicit Knowledge คือ ความรู้ที่เปิดเผยแสดงออกมาในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเป็นความรู้ที่สามารถนำมารวบรวม เผยแพร่และถ่ายทอดออกสู่สาธารณชนได้โดยผ่านวิธีการต่างๆ อย่างเป็นระบบเรียกง่ายๆ ว่า "องค์ความรู้"
การจัดการความรู้
การจัดการความรู้ (KM:Knowledge Management) คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจาย อยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบเพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด ผู้บริหารจะต้องรู้จักวิธีการจัดการที่ดีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร การจัดการเป็นวิธีการแก้ปัญหาและสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่องค์กร การจัดการความรู้ เป็นเรื่องของการทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับความรู้
ในระบบเศรษฐกิจหรือระบบสังคมบนพื้นฐานขององค์ความรู้นั้นมักจะต้องพูดถึงองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการคือ
1. ศักยภาพการแข่งขัน การพฒนาองค์กร สังคมและประเทศชาติให้มีศักยภาพในการแข่งขันจะต้องพัฒนาระบบองค์ความรู้ที่เป็นระบบครบวงจรที่มีเป้าหมายชัดเจน
2. เทคโนโลยีสารสนเทศ ในภาวะที่มีการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์ความรู้นับตั้งแต่การจับเก็บ การวิเคราะห์ การใช้งาน และการถ่ายทอดองค์ความรู้
3. ทรัพยากรมนุษย์ นับเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดโดยเริ่มตั้งแต่มนุษย์ที่มีองค์ความรู้ในการบริหารจัดการระบบองค์ความรู้ แหล่งที่มาขององค์ความรู้ก็เกิดจากการสะสมของมนุษย์ผู้ที่เรียนรู้การใช้งานหรือผู้ที่ถูกพัฒนาจากระบบให้เป็นคนหรือพนักงานที่มีความรู้ (Knowledge Worker)
กลยุทธ์ (Strategey) คือ การหาแนวทางให้องค์กรสามารถเอาชนะคู่แข่งขันได้อย่างมี ประสิทธิภาพภายใต้เงื่อนไขของทรัพยากรที่มีอยู่
กลยุทธ์เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับองค์กรเพราะองค์กรใช้กลยุทธ์ในการทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ กลยุทธ์จัดเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญในการวางแผนธุรกิจ การที่ธุรกิจจะอยู่รอดได้ในอนาคตจะต้องสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วเพื่อที่จะแข่งขันได้ กลยุทธ์ที่สำคัญที่นิยมนำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่
1. เน้นลูกค้าเป็นสำคัญ
2. การพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการ
3. การนำเสนอคุณค่าที่แตกต่างให้กับลูกค้า การประกอบธุรกิจปัจจุบันมุ่งเน้นเอาชนะคู่แข่งขันจนทำให้สินค้ามีลักษณะที่เป็นสินค้าทั่วไปมากขึ้น
4. การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้เหมาะสม โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้จะช่วยในการใช้ทรัพยากรร่วมกันและสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพช่วยเพิ่มผลผลิตโดยลดค่าใช้จ่ายและลดระยะเวลาในการดำเนินงานให้น้อยลง
กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์
1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Analysis) คือ การวิเคราะห์ปัจจัยภายในขององค์กรโดยพิจารณาทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนเพื่อให้รู้ตนเอง
1.1 จุดแข็ง (Strength) คือ ปัจจัยภายในที่เสริมให้องค์กรเกิดความได้เปรียบในการแข่งขันและการดำเนินการทางธุรกิจ ซึ่งองค์กรสามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
1.2 จุดอ่อน (Weakness) คือ ปัจจัยภายในที่เป็นข้อจำกัดต่อการดำเนินงานซึ่งเมื่อวิเคราะห์แล้วทราบว่าอะไรคือจุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบที่ต้องปรับปรุงหรือหลีกเหลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดข้อจำกัดในการดำเนินงานซึ่งองค์กรไม่สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการทำงาน เป็นปัจจัยที่สามารถควบคุมได้
2. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External Analysis) คือ การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่เป็นโอกาสหรืออุปสรรคต่อการดำเนินงาน
2.1 โอกาส (Opportunities) คือ ปัจจัยสนับสนุนที่ก่อให้เกิดความได้เปรียบในการดำเนินงาน เป็นสภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานขององค์กร
2.2 อุปสรรค (Threats) คือ ปัจจัยและสถานการณ์ภายนอกที่ขัดขวางการทำงานขององค์กรไม่ให้บรรลุวัตถุประสงค์ เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดข้อจำกัดในการดำเนินงานและเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้
การจัดทำกลยุทธ์ เป็นการนำข้อมูบที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 และจากการประเมินตนเองมาจัดทำกลยุทธ์ซึ่งใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานโดยองค์กรจะต้องกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมาย
1. วิสัยทัศน์ (Vision) คือ ภาพอนาคตขององค์กรเป็นสิ่งที่แสดงถึงจุดมุ่งหวังที่ต้องการไปให้ถึง ความตั้งใจ ความมุ่งมั่นหรือสิ่งที่คิดว่าจะเป็นในอนาคตโดยมองจากสภาพการณ์ที่แท้จริงทั้งจากภายในและภายนอกโดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด วิสัยทัศน์ที่ดีไม่จำเป็นต้องประกอบด้วยข้อความที่ยาว
2. พันธกิจ (Mission) เป็นแนวทางที่องค์กรจะดำเนินงานให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดและควรแสดงถึงจุดมุ่งหมายหลักขององค์กร ตลอดจนขอบเขตการปฏิบัติงานขององค์กรพันธกิจ คือ การตอบคำถาม "What to do"
3. เป้าหมาย (Goal) เป็นความคาดหวังที่สำคัญที่ต้องการให้เกิดขึ้นโดยสอดคล้องกับพันธกิจและวิสัยทัศน์เพื่อใช้เป็นกรอบในการกำหนดยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการต่อไป
ปัจจัยสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์มีอยู่ 3 ประการ คือ สภาพแวดล้อมภายนอกสภาพแวดล้อมภายในและเป้าหมายขององค์กร เนื่องจากเป้าหมายจะให้ภาพที่ชัดเจนถึงความต้องการในขณะที่การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมจะทำให้ทราบถึงศักยภาพขององค์กรและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ การจัดทำกลยุทธ์ส่วนใหญ่มักแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ กลยุทธ์ระดับองค์กร ระดับธุรกิจและระดับปฏิบัติการโดยผู้บริหารและบุคลากรในองค์กรต้องพร้อมที่จะปรับต้วให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การจัดทำกลยุทธ์จะต้องทำแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) เป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้ทุกคนในองค์กรประสานการดำเนินงานในส่วนต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ เน้นการประเมินโดยมุ่งเน้นในสิ่งที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันมีการแข่งขันที่รุนแรงและเผชิญกับอุปสรรคมากมาย มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม ไม่มีธุรกิจใดที่จะอยู่คงทนถาวรโดยปราศจากการพัฒนาไปตามกระแสของโลก การทำธุรกิจทุกวันนี้จะต้องอาศัยการเรียนรู้และการพัฒนารวมทั้งประสบการณ์ที่ผ่านมาเป็นตัวช่วยในการทำให้ธุรกิจอยู่รอด จึงเป็นความจำเป็นที่องค์กรจะต้องทำการพัฒนาตนเองเพื่อให้สามารถรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อนำไปสู่เป้าหมายในอนาคต เพื่อความอยู่รอด(Survive) และความก้าวหน้า (Growth) ขององค์กรหรือของธุรกิจของตนในอนาคต
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ทำให้เกิดผลกระทบต่อการทำงานขององค์กรดังต่อไปนี้
1. เทคโนโลยีสารสนเทศได้ถูกนำเข้ามาใช้ภายในองค์กรทำให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานขององค์กร เช่น การนำเอาไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) เข้ามาใช้ภายในองค์กร ทำให้การส่งข่าวสารไม่ต้องใช้พนักงานเดินหนังสือ ไม่ต้องพิมพ์รายงานการประชุมแจกผู้เข้าร่วมประชุม ตลอดจนลดการใช้กระดาษที่ต้องพิมพ์ข่าวสาร และสามารถส่งข่าวสารไปถึงบุคคลที่ต้องการได้เป็นจำนวนมากและรวดเร็วหรือเทคโนโลยีสำนักงานอัตโนมัติ (office Automation)
2. สนับสนุนการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์โดยเทคโนโลยีสารสนเทศผลิตสารสนเทศ ที่สำคัญให้แก่ผู้บริหารที่จะใช้เป็นแนวทางในการวางแผน ตัดสินใจและการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
3. เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในงานหลายๆด้าน โดยเทคโนโลยีจะช่วยเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงคุณภาพของการทำงานให้ดีขึ้นหรือแม้กระทั่งช่วยลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของแรงงานและวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆลง
4. เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสาร ในช่วงแรกของการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานทางธุรกิจคอมพิวเตอร์จะถูกใช้เป็นเพียงอุปกรณ์หลักที่ช่วยในการเก็บและคำนวณข้อมูลต่างๆเท่านั้น ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาให้มีศักยภาพจากทั้งภายในองค์กรหรือภายนอกองค์กรโดยไม่จำกัดของเขตว่าผู้ใช้จะอยู่ห่างไกลกันเท่าใด
แต่อย่างไรก็ตามการที่องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นนอกจากมีการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ดีแล้วยังต้องอาศัยวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นการปฏิบัติอีกด้วย หลายๆ องค์กรได้มีการสร้างวัฒนธรรมที่ตัองการให้เกิดขึ้นภายในองค์กรและมีการสื่อสารให้บุคลากรเกิดการยอมรับและปฏิบัติตามเพื่อความสำเร็จขององค์กร เช่น สร้างความภาคภูมิใจให้เกิดกับบุคลากรในความเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน มีดังต่อไปนี้
1. เพิ่มปริมาณการขาย
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยทางด้านกลยุทธ์ทางการตลาด โดยสามารถช่วยเพิ่มปริมาณการขาย เพิ่มส่วนแบ่งตลาด นำไปสู่ภารให้ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยทางการตลาด สร้างธุรกิจใหม่ๆ สร้างความเชื่อถือให้เกิดกับลูกค้า
2. การลดต้นทุนการผลิต
โดยปกติองค์กรเมื่อขยายใหญ่ขึ้นจำเป็นต้องเพิ่มพนักงาน แต่ถ้ามีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จะทำให้การทำงานเร็วขึ้นและสามารถลดขั้นตอนการทำงานและลอแรงงานคนลงได้ พนักงานมีเวลาในการเรียนรู้ระบบงานใหม่ หาวิธีการปรับปรุงการทำงานให้รวดเร็วขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานโดยเทคโนโลยสารสนเทศจะช่วยส่งเสริมการใช้แรงงานอย่างมีประสิทธิภาพและลดการใช้ทรัพยากรที่ซ้ำซ้อน ช่วยในการลดต้นทุนการผลิต
3. การเพิ่มผลผลิต
องค์กรต่างๆ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการเพิ่มผลผลิต ช่วยควบคุมกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพและได้ผลผลิตมากขึ้น นอกจากนี้สารสนเทศยังช่วยพยากรณ์ความต้องการสินค้าของผู้บริโภค ทำให้ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้
4. การเพิ่มคุณภาพของสินค้าและการบริการ
เทคโนโลยีรสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการ เพื่อให้ระบบผลิตสินค้าหรือการให้บริการสามารถดำเนินงานไปตามต้องการ การเพิ่มคุณภาพของสินค้าและบริการเป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าเพื่อประโยชน์ในการแข่งขัน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถช่วยในการปรับปรุงคุณภาพของสินค้าให้ดีขึ้น เช่น การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (CAD:Computer Aided Design) เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความทันสมัย สอดคล้องความต้องการของลูกค้าและการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในงานอุตสาหกรรม (CAM:Computer Aided Manufacturing) สามารถใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมเครื่องจักรแทนคน
5. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
ภาวะที่มีการแข่งขันสูงย่อมเป็นการบีบบังคับให้องค์ต้องคิดหาสิ่งใหม่ๆ เพื่อให้ตนเองสามารถที่จะเอาชนะคู่แข่งขันได้ สิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขี้น คือ นวัตกรรมนั่นเอง นวัตกรรมอาจจะเป็นผลิตภัณฑ์แบบใหม่ที่ให้สอดคล้องต่อความต้องการของลูกค้าที่ยังไม่มีใครตอบสนองมาก่อนการสร้างผลิตภัณฑ์แบบใหม่ให้รองรับลูกค้า
นอกจากนี้ ผู้บริหารยังนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการสร้างโอกาสเพื่อเป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันได้โดยการพัฒนาธุรกิจใหม่ ๆ เช่น ระบบธนาคารได้สร้างบริการใหม่ ๆ ให้แก่ลูกค้าโดยให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมการเงินผ่านเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ต การทำธุรกิจผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ช่วยสร้างสินค้าหรือบริการใหม่ๆ เป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าหรือบริการและช่วยให้ราคาถูกลง การให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline)
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับความสนใจนำไปใช้งานทางธุรกิจอย่างแพร่หลาย ทั้งในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมของธุรกิจมากกว่าที่จะใข้เทคโนโลยีเพียงการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลและการนำผลที่ได้รับไปใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ในการดำเนินการทางธุรกิจที่ซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของผู้บริหาร เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจและส่งเสริมความได้เปรียบในการแข่งขัน
เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างแรงผลักดันที่มีต่อองค์กร ดังต่อไปนี้
1. ด้านเทคโนโลยี (Technology) เช่น ลดระยะเวลาในการปฏิบัติงานลดขั้นตอนในการทำงาน กำหนดโครงสร้างและกฏเกณฑ์ใหม่ เป็นต้น
2. บทบาทของบุคคล (Individuals and Roles) พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ ต้องผ่านการฝึกอบรมและศึกษาหาความรู้อยู่เสมอเพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปและเพื่อที่จะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. โครงสร้าง (Structure) เช่น การรื้อปรับระบบ (Reengineering) การจัดองค์กรแบบเครือข่าย (Network Organization) การลดขนาดองค์กร (Downsizing) หรือการจัดขนาดองค์กรให้เหมาะสม (Rightsizing) เป็นต้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงานและการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นขององค์กร
4. กระบวนการจัดการ (Management Process) สังคมปัจจุบันอยู่ในช่วงของการเคลื่อนย้ายอำนาจ (Power Shift) เช่น การศึกษาสูง รสนิยม ค่านิยม และทัศนคติสมัยใหม่ เป็นต้น
5. กลยุทธ์ (Strategey) ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญเชิงกลยุทธ์ในหลายองค์กร เนื่องจากศักยภาพและความคล่องตัวในการใช้งานจึงถูกนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างและธำรงรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันให้แก่องค์กร
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อองค์กร
ความล้มเหลวขององค์กรอาจเกิดจากปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทำให้สินค้าล้าสมัยเร็ว ปัญหาด้านการเงินแต่ถ้าองค์กรมีการบริหารจัดการที่ดีก็อาจสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ เหตุผลสำคัญที่ทำให้เกิดความล้มเหลวขององค์กร คือ ความผิดพลาดทางด้านการบริหาร ผู้บริหารจะต้องมองเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมภายนอก เช่น การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ความต้องการของผู้บริโภคซึ่งเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการดำเนินงานขององค์กร ดังนั้น การสร้างความสำเร็จให้เกิดกับองค์กรนั้นองค์กรจะต้องมีกลยุทธ์ที่ชัดเจน มุ่งเน้นการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติตลอดจนมีการดำเนินงานที่ดี เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเจริญก้าวหน้ามากขึ้น คอมพิวเตอร์มีประสทธิภาพเพิ่มขึ้น องค์กรจะพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยควบคุมเครื่องจักรในการทำงานตามโรงงาน
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถสร้างประโยชน์ได้มากมายและพร้อมที่จะให้ผู้บริหารในระดับต่างๆ ใช้ตามต้องการ การใช้คอมพิวเตอร์ในการรวบรวมข้อมูล ค้นหาข้อมูล คำนวณ ทำบัญชี พิมพ์เอกสารรายงานต่างๆ ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศทั้งสิ้น การพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อย่างรวดเร็วเป็นแรงผลักดันให้วิถีการดำเนินงานของธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์ การที่สารสนเทศมีบทบาทเพิ่มขึ้นมากมาย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่เคยปฏิบัติเป็นประจำ เช่น การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการควบคุมระบบสัญญาณไฟจราจร ใช้ในงานห้องสมุดเพื่อค้นห้าหนังสือแทนการใช้ตู้บัตรรายการ การใช้คอมพิวเตอร์ในการส่งข่าวสารข้อมูล เป็นต้น
การบริหารการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสมียใหม่
ปัจจุบันโลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งในยุคปัจจุบันนี้เป็นยุคเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้าอยู่เสมอ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการพัฒนาองค์กรสามารถทำได้หลายระดับและหลายรูปแบบ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้ก้าวทันไปกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปและในขณะเดียวกันผู้บริหารจะต้องมีวิสัยทัศน์ เพราะถ้าผู้บริหารขาดวิสัยทัศน์จะทำให้การนำเทคโนโลยีไปใช้ไม่คุ้มค่าหรืออาจไม่มีประสิทธิภาพ
บทสรุป
ปัจจุบันเป็นยุคที่การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันอย่างรุนแรง ทุกประเทศได้ให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคลจะต้องถูกพัฒนาให้เป็นผู้ที่มีความรู้ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ ดังนั้นในการพัฒนาประเทศจะต้องเร่งพัฒนาคนให้มีความรู้ โดยถือว่าความรู้ (Knowledge) คือ ทุนซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าสูงสุดที่กำลังพัฒนาไปเป็นสังคมแห่งความรู้ (Knowledge Society) ภูมิปัญญาของมนุษย์จะถูกถ่ายทอดและถูกพัฒนาสังคมอย่างต่อเนื่องโดยมีการรวบรวมจากผู้มีความรู้หลาย ๆ คนกลายเป็นองค์ความรู้ การพัฒนาสังคมให้เป็นสังคมแห่งความรู้ จะต้องมีการจัดการความรู้โดยนำความรู้จากคน ซึ่งเป็นแหล่งคามรู้และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คนสามารถใช้ในการค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ และกระบวนการความรู้ซึ่งเป็นการนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน ในการจัดการเชิงกลยุทธ์ประกอบด้วย การวิเคราะห์กลยุทธ์ซึ่งเป็นการวิเคราะห์องค์กรโดยใช้กระบวนการวิเคราะห์ SWOT จากนั้นก็มีการจัดทำกลยุทธ์เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานขององค์กรโดยองค์กรจะต้องกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายแล้วจึงนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติโดยมุ่งเน้นความสำเร็จขององค์กรและตรวจสอบโดยใช้ Balanced Scorecard ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบผลการดำเนินงานขององค์กรเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันแต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อโต้แย้งและมีผลกระทบต่อองค์กร ดังนั้นในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศผู้บริหารจะต้องมีการบริหารการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อให้ทันกับความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว
บทที่ 5
ความรู้พื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา
ความหมายของนวัตกรรม
นวัตกรรม (Innovatiom) มีรากศัพท์มาจาก Innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมเชิงเศรษฐศาสตร์ คือ การนำแนวคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่ใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ(Change)ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity)และถ่ายทอดไปสู่แนวคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม โดยจะเน้นไปในทางที่สร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation)เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชน์เป็นหลัก นวัตกรรมยัง หมายถึง ความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติใพ้เกิดผลได้จริงอีกด้วย
นวัตกรรมทางการศึกษา
ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรมการศึกษา(Educational Innovation)หมายถึง นวัคกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย
ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษาสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภท ดังนี้
1.นวัตกรรมทางด้านหลักสูรต
2.นวัตกรรมการเรียนการสอน
3.นวัตกรรมสื่อการสอน เช่น CAI WBT Webblog เป็นต้น
4.นวัตกรรมการประเมินผล เช่น การพัฒนาคลังข้อสอบ การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
5.นวัตกรรมการบริหารจัดการ เช่น ฐานข้อมูลนักเรียน นักศึกษา และอื่นๆ
ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา
ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษามีอยู่ 3 ระดับ คือ
1.ความเป็นเลิศของบุคคล(Individual excellence)
2.ความเป็นเลิศของทีมงาน(Teamwork excellence)
3.ความเป็นเลิศขององค์กร (Organization excellence)
หลักการของนวัตกรรมการศึกษา มี 5 ประการ ดังนี้
1.นวัตกรรมเป็นเรื่องความคิด (Innovation is mindset)
2.นวัตกรรมเป็นกุญแจสำคัญเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข็งขัน(Innovation is a key to gaining competitive advantage)
3.ประสิทะภาพของนวัตกรรมสามารถเพิ่มราคาได้ (Effective innovation can boost stock price)
4.ผู้บริหารสูงสุดต้องนำและมีความรับผิดชอบต่อนวัตกรรม (CEO must lead and be held accountable for innovation)
5.ผู้บริหารสูงสุดต้องผูกพันและแพร่กระจายไปยังบุคคลอื่น (CEO must be committed to and instill in others a passion for innovation)
บทสรุป
นวัตกรรม หมายถึง การริเริ่มความคิด หรือย่อยอดองค์ความรู้เทคโนโลยีกระบวนการ ที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น ซึ่งนวัตกรรมเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาคนพัฒนางาน และ พัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ซึ่ง รวมถึงภาคการศึกษาที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนา นวัตกรรมการศึกษาจะช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดความรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษาและประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้ก้นอย่างแพร่หลายแล้ว
การสร้างนวัตกรรมการศึกษาโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการพัฒนานวัตกรรมมีองค์ประกอบ คือ โครงสร้างองค์กร บุคลากร กระบวนการ กลยุทธ์และยุทธวิธีและเครื่องมือสารสนเทศ ปัจจัยที่มีผลต่อนวัตกรรมทางการศึกษามีอยู่ 3 ระดับ ความเป็นเลิศของบุคคล ความเป้นเลิศของทีมงาน และ ความเป็นเลิศขององค์กร หลักการของนวัตกรรมการศึกษามีอยู่ 5 ประการ คือ นวัตกรรมเป็นเรื่องของความคิด นวัตกรรมเป็นจุญแจสำคัญเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข็งขันประสิทธฦภาพของนวัตกรรมสามารถเพิ่มราคาได้ ผู้บริหารสูงสุดต้องนำและมีความรับผิดชอบต่อนวัตกรรม ผู้บริหารสูงสุดต้องผูกพันและแพร่กระจายไปยังบุคคลอื่น
บทที่ 6
การประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางการศึกษา
การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์
การจัดระบบการเรียนการสอนออนไลน์ในปัจจุบันได้ก้าวเข้าสู่การใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการนำเสนอ โดยมีรูปแบบในการนำเสนอผลงาน แบ่งได้ 2 รูปแบบใหญ่ ได้แก่ การนำเสนอในลักษณะการจัดการเรียนการสอนบนเว็บ (Web Based Learning)และการนำเสนอบทเรียนในลักษณะบทเรียนออนไลน์(e-Learning)
1. ความหมายของการเรียนการสอนบนเว็บ
การจัดการเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning:WBL)หมายถึงรูปแบบการเรียนการสอนที่อาศัยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต โดยมีการใช้โปรโตคอล (Protocol)ของอินเทอร์เน็ต(TCP/IP,HTTPS)เป็นโปรโตคอลหลักในการถ่ายโอนข้อมูล เป็นรูปแบบการประยุกต์ใช้คุณสมบัติไฮเปอร์มีเดีย(Hyper media)เข้ากับคุณสมบัติของอินเทอร์เน็ตเพื่อสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนในมิติที่ไม่มีขอบเขตจำกัดด้วยระยะทาง และเวลาที่แตกต่างกันของผู้เรียน (Learning without Boundary)อันจะช่วยขจัดปัญหาต่างๆที่เกี่ยวกับการศึกษาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น การขาดแคลนครูผู้สอนที่ได้รับการยอมรับ หรือ มีประสิทธิภาพ สร้างมาตราฐานเนื้อหาการเรียนรู้ สร้างโอกาสการเรียนรู้ให้กับกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา รวมทั้งเปิดช่องทางการเรียนรู้ตามอัธยาศัย(Informal Learning)และการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต(Lifelong Learning)
2. คุณสมบัติของการเรียนการสอนบนเว็บ
เพื่อสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนในมิติที่ไม่มีขอบเขตจำกัดด้วยระยะทางและเวลาที่แตกต่างกันของผู้เรียน การใช้คุณสมบัติของไฮเปอร์มีเดียในการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายนั้น หมายถึงการสนับสนุนศักยภาพการเรียนด้วยตนเองตามลำพัง(One Alone)
บทเรียนออนไลน์
บทเรียนออนไลน์ หรือ บางคนเรียกว่า e-Learning เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในลักษณะหรือรูปแบบที่มีการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ สัญญาณโทรทัศน์หรือสัญญาณดาวเทียม (Satellite)
เป็นต้น
ห้องสมุดเสมือน (Virtual Library)
1. ความหมายของห้องสมุดเสมือน
คำ virtual หมายถึง การเชื่อมโยงข้อมูลในหัวข้อ หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งจากที่ต่างๆ มาไว้ที่หน้าจอเดียวกัน ดังนั้น ห้องสมุดเสมือนจึงเป็นการทำงานของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีโทรคมนาคมผสมผสานกับการจัดการข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
2. ความเป็นมาของคำว่าห้องสมุดเสมือน
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้การผลิตสารสนเทศต่างๆเกิดขึ้นมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว ส่งผลให้ปริมาณของทรัพยากรสารสนเทศมีมากเกินกำลังที่ห้องสมุดจะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสนองตอบความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
3. ระดับของห้องสมุดเสมือน
แบ่งได้เป็น 3 ระดับ
4. คุณลักษณะของห้องสมุดเสมือน
คุณลักษณะของห้องสมุดเสมือนมีที่สำคัญ 5 ประเด็น ดังนี้ เทคโนโลยีที่ต้องเน้นในห้องสมุดเสมือน มีเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญ 4 ประการ ดังนี้
1. Public Access Information คือ การเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
2. Electronic Image Document คือ ทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำสำเนาในปริมาณมากเท่าที่ต้องการ
3. Open Network Delivery คือ ความสามารถในการขนถ่ายทรัพยากรสารสนเทศโดยเชื่อมต่อด้วยระบบเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์
4. Intellectual Property Manggement คือ การจัดทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงลิขสิทธิ์ของทรัพยากรสารสนเทศที่นำมาให้บริการ ต้องมีการจัดเก็บทรัพยากรที่เป็นที่ต้องการพื้นฐานของห้องสมุดใช้ระบบ OPAC
5. ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดเสมือน
5.1 ฐานข้อมูลซีดี-รอม
5.2 ฐานข้อมูลออนไลน์หรือฐานข้อมูลเชิงพาณิชณ์อื่นๆ
5.3 การพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
สรุป
นวัตกรรมทางการศึกษาในปัจจุบันมีอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นผู้บริหารสถาบันการศึกษาจำเป็นต้องมีความรู้และความสามารถประยุกต์ใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) มหาลัยราชภัฏสวนดุสิต เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์สืบค้นสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้ประโยชน์ในการสอน การทำผลงานทางวิชาการ และการวิจัยของคณาจารย์และเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองให้กับนักศึกษาในการเข้าใช้ห้องสมุดเสมือนสืบค้นฐานข้อมูล เพื่อประโยชน์ในการเรียน และการจัดทำภาคนิพรธ์ วิทยานิพนธ์

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ผลการเรียนรู้สัปดาห์ที่2

1.ได้ทราบและรู้ถึงวิธีการจัดการเรียนการสอนในวิธีต่างๆ ในแต่ละวัยในสถานศึกษา และรวมพัฒนาการศึกษาโดยนำเทคนิคการสอนต่างๆ เข้ามาบูรณาการในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพของชุมชน
2.ได้ศึกษาค้นคว้าบทคัดย่องานวิจัยต่างๆ ผ่านทางฐานข้อมูลออนไลน์และนำมาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา
3.ได้รู้วิธีการส่งงานทางเมลล์และสร้าง BLOG ของตนเอง
4.ได้ทราบถึงประโยชน์ของระบบสารสนเทศว่ามีความจำเป็นในสถานศึกษาเป็นอย่างมาก ทำให้ทราบข้อมูลข่าวสารความรู้ใหม่ๆ ได้รวดเร็วทันใจ ได้ทราบถึงประเภทของนวัตกรรมแบบต่างๆ ที่จะมาพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา

ผลการเรียนรู้สัปดาห์ที่2

1.ได้รู้ถึงวิธีการดำเนินงานในการสร้าง ปรับปรุงแก้ไขบล็อกของตนเอง
2.การเรียนเรื่องนี้ทำให้เรารู้ที่มาและความสำคัญของการทำบทคัดย่อของงานวินัย
3.การที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับบทคัดย่อของงานวิจัยต่างๆ ทำให้เราเองมีความรู้และสามารถนำมาเป็นแบบอย่าง ในการจัดทำงานวิจัยของตน
4.ทำให้รู้วิธีการส่งงานทางอีเมลล์ได้อย่างถูกต้อง

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

นวัตกรรมการศึกษา

บทคัดย่องานวิจัย
ชื่องานวิจัย : การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้แบบฝึก เสริมทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 1 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้เขียน : นางวรรณระพี พิทยานันท์ ตำแหน่ง ครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านหนองม่วง อำเภอสตึก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ปีที่พิมพ์ : 2550 บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมาย
1. เพื่อสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด
2. เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้เกณฑ์มาตรฐาน 80/80
3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและ หลังเรียน โดยการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด กลุ่มตัวอย่าง(Sample) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนบ้านหนองม่วง ตำบลนิคม อำเภอ สตึก จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 34 คน
ระยะเวลาในการวิจัยภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550
โดยใช้เวลาในแผนการสอนปกติในระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เดือนกุมภาพันธ์ 2550
เนื้อหาที่ใช้ ในการวิจัยคือ การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด

เครื่องมือใน การวิจัย คือ
1) แบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด จำนวน 4 ชุด คือ ชุดที่ 1 มาตราตัวสะกดแม่ กก ชุดที่ 2 มาตราตัวสะกด แม่ กด ชุดที่ 3 มาตราตัวสะกด แม่ กน ชุดที่ 4 มาตราตัวสะกด แม่กบ
2) แบบทดสอบมี 2 แบบ คือ
1. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แต่ละเล่มเป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ชุดละ 10 ข้อ
2. แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 เรื่องการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด จำนวน 20 ข้อ

ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกเสริมทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาที่ 3 เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด มีประสิทธิภาพกระบวนการ ( E1) เท่ากับ 83.09 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80 และมีประสิทธิภาพผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 87.21 2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด พบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01




บรรณานุกรม
วรรณระพี พิทยานันท์ . 2550. ครูบ้านนอก . กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์ .

ประโยชน์ที่ได้รับจากบทคัดย่อ
1. ได้ศึกษาการแก้ปัญหาการอ่านและการเขียนคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด
2. ได้ฝึกทำและลองใช้ แบบฝึกเสริมทักษะ เกี่ยวกับการอ่านและการเขียนกับเด็กที่สอนอยู่
3. ได้ทราบผลสัมฤทธิ์ของเด็กว่ามีประสิทธิภาพในการอ่านการเขียนอยู่ในระดับไหน
4. ได้นำไปเป็นแนวทางในการสอนเด็กนักเรียนและแก้ปัญหาเด็กนักเรียนที่สอนอยู่ปัจจุบัน
5. ทำให้จัดระบบการเรียนการสอนได้ดีขึ้นตามขั้นตอนโดยให้เด็กทำแบบฝึกหัดก่อนเรียนโดยใช้บททดสอบก่อนเรียนและประเมินผลเด็กหลังจากเรียนแล้วโดยใช้แบบทดสอบหลังเรียน
6. ได้ศึกษาบทคัดย่อในรูปแบบต่างๆจากบทคัดย่อ จากคอมพิวเตอร์และนำมาเป็นแนวทางในการสอนให้แก่เด็ก ทั้งเป็นประโยชน์ในด้านการแก้ปัญหา กับเด็กที่มีปัญหาในด้านต่างๆ
7. รู้จักรการเขียนบรรณานุกรม ที่ถูกต้องตามรูปแบบของการจัดทำหนังสือ

นวัตกรรมการศึกษา

บทคัดย่อ

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ผลการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 1

3.1 ความรู้ที่นักเรียนได้รับจากการเรียนในครั้งนี้
ได้รู้จัก อาจารย์ ปรปัตถ์ปัญปริชญ์ ต้องประสงค์ และทราบเกี่ยวกับคำอธิบายรายวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
- ศึกษาวิเคราะห์บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่อการพัฒนาการศึกษา
- การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการของภาครัฐและเอกชน
พร้อมก้าวทันการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมืองและเทคโนโลยีสมัยใหม่
- การประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การจัดโครงสร้างของระบบสารสนเทศ
- ได้รู้ถึงข้อควรคำนึงในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
3.2 ประโยชน์ที่มีของระบบเขื่อข่ายอินเตอร์เน็ต ต่อขบวนการจัดการศึกษา
- ใช้ในการค้นคว้าหาข้อมูลในด้านต่างๆ
- ใช้จัดทำโปรแกรมสร้างสรรค์งานต่างๆ
- การได้รับรู้เกี่ยวกับการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมที่เป็นสื่อการเรียนการสอน
3.3 เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการใช้โปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เน็ตเมื่อเทียบกับการติดตั้งโปรแกรมใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
การใช้โปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เน็ต
ข้อดี
- มีความรวดเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสาร
- มีความทันสมัยในการสื่อสารที่ชัดเจนขึ้น
- มีความเป็นปัจจุบันและรวดเร็วในการค้นคว้าข้อมูล
- สามารถสนทนากับปลายทางได้หลายรูปแบบ เช่นแบบอักษรและมัลติมีเดีย
ข้อเสีย
- ต้องมีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตก่อนใช้งาน
- บางทีอาจเกิดปัญหาสัญญาณขัดข้อง
- ไวรัสคอมพิวเตอร์จะทำให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เสียหาย
โปรแกรมใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
ข้อดี
- ใช้งานโดยไม่ต้องมีการเชื่อมต่อ
- ใช้งานได้ทันทีเพราะมากับเครื่อง
ข้อเสีย
- ต้องปรับปรุงข้อมูลปัจจุบันด้วยตนเอง